|
ราคา | : ไม่ระบุ |
ประเภทประกาศ | : ประกาศ/ประชาสัมพันธ์ |
สภาพสินค้า | : ใหม่ |
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ | : 000 |
|
จำนวนผู้เข้าชม | : 33 ครั้ง |
|
|
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันสูง ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันสูงจะไม่แสดงถึงความผิดปกติ ในบางรายอาจตรวจพบโรคความดันสูงเมื่อเป็นมานานโดยไม่รู้ตัวและเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว หรือบางรายที่เป็นโรคความดันสูงระยะรุนแรงจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย
สาเหตุของโรคความดันสูงสามารถแบ่งตามสาเหตุการเกิดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่
ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Primary/Essential Hypertension) โรคความดันสูงชนิดนี้มักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการพัฒนาของโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังไม่สามารถระบุต้นเหตุที่ทำให้เกิดได้อย่างชัดเจน
ชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) เป็นโรคความดันสูงที่เป็นผลมาจากร่างกายมีโรคประจำตัวเดิม ต่อมาเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นและมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันมากกว่าชนิดแรก เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต โรคเบาหวาน ตั้งครรภ์ หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด (ยาคุมกำเนิด ยาดลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวด) การใช้สารเสพติดอย่างโคเคนหรือแอมเฟตามีน รวมไปถึงการติดสุราเรื้อรังหรือการติดแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความดันสูงได้เช่นกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคได้มากขึ้น
อายุ – อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ประมาณ 45-60 ปีขึ้นไป เชื้อชาติ – มักพบในคนเชื้อชาติฝั่งประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย เพศ – เพศชายมักพบในวัยกลางคนประมาณ 45 ปีขึ้นไป ในขณะที่เพศหญิงจะพบมากในช่วงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป พันธุกรรม – ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคความดันสูงมีโอกาสเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ อาหารโซเดียมสูงหรือโพแทสเซียมต่ำ – การรับประทานอาหารมีโซเดียมสูงจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งจะไปเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น ในขณะที่อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยจะช่วยให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับปริมาณโซเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน – ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากระบบหมุนเวียนเลือดต้องขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมากขึ้น หัวใจต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดมากขึ้นเช่นกัน การสูบบุหรี่หรือยาสูบ – สารพิษที่อยู่ในบุหรี่และยาสูบเหล่านี้จะเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น รวมไปถึงทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการตีบตัน หัวใจจึงต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้จากควันบุหรี่ก็ได้รับผลเสียเช่นเดียวกับผู้ที่สูบ ขาดการออกกำลังกาย – การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยและขาดออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้หัวใจต้องใช้แรงดันเพิ่มมากขึ้น โรคเรื้อรังบางชนิด – โรคประจำตัวบางชนิดอาจส่งผลต่อความดันโลหิตที่สูงมากขึ้น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือมีปัญหาด้านการนอน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ รวมด้วย เช่น ความเครียดสะสม การดื่มแอลกอฮอล์เกินพอดี การได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ
วันที่ลงประกาศ:
17 พฤศจิกายน 2023 18:01
วันสิ้นสุดประกาศ:
15 กุมภาพันธ์ 2024 18:01
ติดต่อเจ้าของประกาศ:
(เจ้าของประกาศไม่ต้องการแสดงอีเมล)
|